สจล. จัดงานสร้างทักษะดิจิทัลแรงงานอาเซียน สู่ Global Citizen

Spread the love

 

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งอาเซียนและเอเชียตะวันออก ร่วมกับ สจล. จัดงานสร้างทักษะดิจิทัลแรงงานอาเซียน ก้าวไปสู่ Global Citizen

 

รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การจัดงาน “ERIA-King Mongkut’s Institute of Technologies Ladkrabang (KMITL) มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลในแรงงานของภูมิภาคอาเซียน ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเพื่อสำรวจกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาทักษะใหม่ๆ

 

และการฝึกอบรมซ้ำเพื่อแก้ไขช่องว่างทักษะดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเตรียมแรงงานให้พร้อมสำหรับอนาคต ช่วยเสริมสร้างความร่วมมือและการเคลื่อนย้ายบุคลากรในอาเซียน ซึ่งการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้แต่แรก ที่จะก้าวไปสู่ Global Citizen สร้างนักศึกษาที่มีศักยภาพ และมีความสามารถในการแข่งขัน

 

นอกจากนี้มีการสร้างหลักสูตรทันสมัยตรงความต้องการของตลาดปรับได้ตลอดเวลา สนับสนุนการเรียนการสอน พัฒนาทักษะ เน้นการปฏิบัติจริง ผลักดันให้นักศึกษาเริ่มทำโปรเจค ตั้งแต่ ปี 1 เน้นทักษะการปฏิบัติ การแก้ปัญหา และการทำงาน สร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันของทุกคณะ สร้างหลักสูตร Transdisciplinary บูรณาการร่วมระหว่างคณะที่มีความแตกต่างของศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านภาษาให้กับนักศึกษา สร้างสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KMITL Life Long Learning Center) และสร้างโอกาสนักเรียนสู่นวัตกร มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ในระดับโลกได้

 

 

สำหรับผลลัพธ์ของการจัดงานที่คาดหวังคือการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดิจิทัล การระบุกลยุทธ์ที่สามารถดำเนินการได้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และเสริมสร้างความสามารถขององค์กรและผู้กำหนดนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัล ปัจจุบัน ภูมิภาคอาเซียนมีความก้าวหน้าอย่างมากในเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมถึงแรงงาน อย่างไรก็ตาม โปรแกรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลยังคงอยู่ในระยะแรกเริ่มในหลายประเทศสมาชิกอาเซียน การพัฒนาทักษะดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการรับมือกับภูมิทัศน์ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ทั้งนี้ ดัชนีการบูรณาการดิจิทัลอาเซียน (ADII) จัดอันดับภูมิภาคนี้ไว้ต่ำที่สุดในด้านทักษะและความสามารถด้านดิจิทัลใน 6 องค์ประกอบของการบูรณาการดิจิทัล ที่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านทักษะและนวัตกรรมดิจิทัล การจัดอันดับความสามารถดิจิทัลโลกประจำปี 2023 แสดงให้เห็นว่า 4 ประเทศอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อยู่ในกลุ่มล่างสุด 50% ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในกลุ่มท็อป 10% ซึ่งข้อตกลงกรอบการทำงานด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (DEFA) เน้นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล โดยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีความสามารถและความร่วมมือในการพัฒนาทักษะ

 

 

สำหรับการจัดงาน “ERIA-King Mongkut’s Institute of Technologies Ladkrabang (KMITL) ที่ผ่านมามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย นางสาวกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ดร. Aladdin Rillo กรรมการผู้จัดการด้านการออกแบบนโยบายและการดำเนินงาน ERIA, ดร. ดวงกมล พิหสุต ผู้พัฒนานโยบาย สภาวิจัยวิทยาศาสตร์อุดมศึกษาและนวัตกรรมแห่งชาติ (NXPO), ผศ.อัครเดช วัชระภูพงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ สจล.,

 

รองศาสตราจารย์ ดร. Nor Zairah Ab. Rahim อาจารย์อาวุโส โรงเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ขั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มาเลเซีย ร่วมด้วย ดร. Masamu Kamaga อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีคิริรอม ประเทศกัมพูชา, ดร. Rashesh Shresta นักเศรษฐศาสตร์ ERIA, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม KMITL

 

yosuke Fujioka ผู้แทนคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม AEM-METI (AMEICC), นาย Daisuke Nakayama ผู้จัดการหลักด้านนวัตกรรมดิจิทัลและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ERIA เข้าร่วมเสวนาในงาน ซึ่งงานจัดขึ้น ณ ACTIVITY AREA, (1A) สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KLLC) (สจล.)

Scroll to Top