เปิดวิสัยทัศน์ “เดวิด หลี่” ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ หัวเว่ย ประเทศไทย

Spread the love

 

หัวเว่ย ประเทศไทย แต่งตั้ง นายเดวิด หลี่ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ นำทัพเสริมความแข็งแกร่ง และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปีนี้ หัวเว่ยจะมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและนักพัฒนาที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย โดยเฉพาะนักพัฒนาที่เชี่ยวชาญด้าน “คลาวด์” และ “พลังงานดิจิทัล”

 

เสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และยกระดับศักยภาพบุคลากรไอซีที พร้อมมุ่งผลักดันพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” อย่างต่อเนื่อง

 

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย สำหรับปี พ.ศ. 2566 นั้น หัวเว่ยจะร่วมผลักดันประเทศไทยให้ขึ้นสู่การขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียนและผลักดันภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม

 

เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยและสามารถช่วยผลักดันการพัฒนาในภาคสังคมได้ ทั้งนี้ หัวเว่ยจะใช้เครือข่ายไฟเบอร์เพื่อเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และจะขยายความครอบคลุมของโครงข่ายเข้าไปในพื้นที่ห่างไกล

 

ในปีนี้เราจะมุ่งขยายความครอบคลุมของโครงข่ายแบบไฟเบอร์ในชนบทของประเทศไทยและทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการ 5G ที่มีคุณภาพและมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะสนับสนุนด้านการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์

 

ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยี 5G ให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในไทย และลูกค้าของเรา รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลให้แก่โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่อีโคซิสเต็มด้านไซเบอร์ของประเทศ

 

ในด้านการปกป้องข้อมูล หัวเว่ยจะช่วยสนับสนุนธุรกิจและสตาร์ทอัพต่าง ๆ ในไทยให้มาปรับใช้คลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับโลก (GCI) ให้แก่ประเทศ

 

โดยเป้าหมายของหัวเว่ยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่เพียงความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญถึงคุณค่าทางสังคมและการบ่มเพาะบุคลากรในประเทศ โดยในปีนี้ หัวเว่ย ประเทศไทยจะมุ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างบุคลากรไอซีทีในไทย

 

โดยเฉพาะการมุ่งฝึกอบรมนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้ได้ถึง 20,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม บ่มเพาะทักษะทางเทคโนโลยีที่มีความสำคัญให้แก่นักพัฒนาไทย และช่วยพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในไทย ผ่านการส่งมอบใบรับรองและต่อยอดโครงการด้านการฝึกอบรมต่าง ๆ ของหัวเว่ย

 

เช่น โครงการบ่มเพาะธุรกิจเอสเอ็มอี Spark Ignite โครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมซึ่งจะต่อยอดให้ครอบคลุมในพื้นที่ 10 จังหวัด ฝึกอบรมนักเรียนให้ถึง 2,000 คน งานสัมมนา Talent Talk เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัลจากภาคส่วนต่าง ๆ และโครงการ Seeds for the Future ที่จะมีทั้งการฝึกอบรม มอบทุนการศึกษา และการแข่งขันในกลุ่มเยาวชน เพื่อให้แรงงานไทยมีทักษะด้านดิจิทัล มีคุณภาพ และมีความพร้อมสำหรับตลาดดิจิทัลของไทยในอนาคต

 

นอกจากนี้ หัวเว่ย ประเทศไทย ยังจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานดิจิทัล และวางแผนจะขยายการเติบโตของกลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัลให้เป็นผู้นำตลาดประเทศไทย เพื่อช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (GDP) ให้เพิ่มขึ้น

 

“เราเชื่อมั่นว่าเราสามารถช่วยสนับสนุนประเทศไทยได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ โซลูชัน และหลักปฏิบัติด้านพลังงานดิจิทัลของเรา ด้วยทีมบุคลากรและพาร์ทเนอร์ในประเทศระดับคุณภาพของเรา เราหวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีและหลักปฏิบัติในระดับโลกมาช่วยผลักดันให้ประเทศไทยในการมุ่งสู่ผู้นำในอาเซียนด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน”

 

นายเดวิด กล่าวว่า ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ย ประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า หัวเว่ยได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมาโดยตลอด ครอบคลุมทั้งด้านการผลักดันโครงข่ายและการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ การติดตั้งศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่งและการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์กว่า 300 ราย

 

การนำโซลูชันเข้าประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมของไทยกว่า 10 ประเภท การผลักดันพลังงานดิจิทัลเพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย การร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการมีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีไทยกว่า 60,000 ราย

 

นายเดวิด หลี่ เข้าร่วมงานกับหัวเว่ย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ในตำแหน่งวิศวกรแผนกวิจัยและพัฒนา จากการสั่งสมประสบการณ์ในอุตสาหกรรมไอซีที ผนวกกับความสามารถในการบริหารธุรกิจของหัวเว่ยในตลาดหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

ส่งผลให้เขาได้รับการยอมรับในฐานะผู้บริหารมากประสบการณ์ซึ่งโดดเด่นด้านการบริหารจัดการทีมงานในประเทศต่าง ๆ ทั้งในฐานะประธานกรรมการบริหารของตลาดประเทศกัมพูชาและอินเดีย ทั้งนี้ เขายังมีความเชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจของหัวเว่ยในตลาดหลายประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Scroll to Top